หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม
หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรม
ไม่ว่าจะโรงงานใหญ่หรือเล็ก ถ้าหากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนในระยะยาว อย่างไรก็หนีไม่พ้นการใช้หุ่นยนต์ ซึ่งนวัตกรรมหุ่นยนต์ในโรงงานจะมีดังนี้
1. หุ่นยนต์อเนกประสงค์
หุ่นยนต์อเนกประสงค์ในโรงงานโดยส่วนมากจะถูกพัฒนามาเป็น “แขน” หุ่นยนต์เป็นหลัก ทั้งเพื่อหยิบจับส่งต่องานได้อย่างไหลลื่นแล้ว ยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพื่อทำงานอื่นๆ เช่น การประกอบชิ้นงานละเอียด งานตรวจสอบต่างๆ
โดยทั่วไปแล้วหุ่นยนต์อเนกประสงค์จะถูกสร้างมาเพื่อสามารถใช้งานในพื้นที่จำกัดได้ดี น้ำหนักเบา ทนต่อสภาพแวดล้อม เช่นหุ่นยนต์ Nachi MZ07 ที่ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย และทำงานได้รวดเร็ว ยืดหยึ่น ตัวเครื่องป้องกันฝุ่นและหยดน้ำเหมาะสำหรับการทำงานในพื้นที่แคบ ยิ่งไปกว่านั้นยังรองรับการทำงานระบบ Automation ทำให้ง่ายต่อการออกคำสั่งแม้ว่าจะเป็นงานละเอียดขนาดไหนก็ตาม
2.หุ่นยนต์เชื่อม
หนึ่งในหุ่นยนต์สำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตของไทย เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์มีการใช้หุ่นยนต์ประเภทนี้สูง
โดยหุ่นยนต์เชื่อมจะมีลักษณะเป็นแขนหุ่นที่มีส่วนปลายเป็นหัวเชื่อมเหล็ก มักทำงานร่วมกับระบบสายพานที่คอยส่งวัสดุเข้ามาในระยะ แขนหุ่นจะทำการเชื่อมวัสดุตามจุดต่างๆ โดยอัตโนมัติตามที่มีการตั้งค่าไว้ ซึ่งสามารถทำได้แม่นยำมากกว่ามนุษย์
ตัวอย่างเช่น Fanuc ARC Welding Robot ที่มีการออกแบบมาเพื่อการเชื่อมไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถรับน้ำหน้กได้ถึง 20 กก. และมีระยะเอื้อม 2 เมตร ใช้ได้ทั้งการเชื่อมไฟฟ้า เชื่อมเลเซอร์ บัดกรี หรืองานตัดประเภทต่างๆ
3.หุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าและวัสดุ
หุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าเป็นหุ่นยนต์ที่นิยมใช้ทั้งในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงโกดังต่างๆ โดยเฉพาะ Amazon และ Alibaba ที่มีการพัฒนาหุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าในโรงงานของตนเอง แทนที่จะใช้มนุษย์ในการทำงาน
ซึ่งหุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าเองก็มีการงานหลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันตามโรงงานและโกดังต่างๆ โดยมีหน้าที่หลักคือ
- จัดเรียงสินค้าลงกล่อง
- จัดทำ Packaging สินค้า
- จัดเรียงกล่องสินค้าลงบนพาเลท
- ยกพาเลทไปตามจุดต่างๆของโรงงาน
- ขนส่งวัสดุต่างๆในโรงงาน
แน่นอนว่าหุ่นยนต์ประเภทนี้หลายรุ่นจะสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระในพื้นที่ทำงานของตัวเอง เพื่อส่งต่อวัสดุหรือชิ้นงานให้กับมนุษย์หรือหุ่นยนต์ตัวอื่นๆ นอกเหนือจากการเคลื่อนที่บนพื้นแล้ว ยังมีความคิดที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ในรูปแบบโดรน ขึ้นเพื่อทำการขนส่งสินค้าในโรงงานด้วยการบินอีกด้วย
4.หุ่นยนต์ตรวจสอบความปลอดภัย
ยิ่งอุตสาหกรรมพัฒนามากขึ้น ความปลอดภัยก็ยิ่งเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้นตาม งานหลายงานมีความเสี่ยงเกินกว่าจะให้มนุษย์ดำเนินการหรืออยู่ในจุดที่คนทั่วไปยากจะเข้าถึง ด้วยเหตุผลเหล่านั้นทำให้หุ่นยนต์ตรวจสอบความปลอดภัยโรงงานเข้ามามีบทบาท เช่น
- ตรวจสอบสารพิษที่รั่วไหลในโรงงาน เนื่องจากหุ่นยนต์สามารถเข้าไปในที่ๆ คนเข้าไม่ถึงโดยไม่ต้องสวมชุดป้องกันได้
- ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ด้วยอินฟาเรดหรืออุปกรณ์ตรวจจับอื่นๆ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีไฟฟ้ารั่วไหล
- ตรวจสอบปล่องควันหรือจุดที่อยู่สูง ทำให้ไม่ต้องมีการปิดโรงงานทั้งโรงเพื่อซ่อมบำรุง
- ตรวจสอบวัสดุในโรงงาน เช่น หุ่นยนต์ตรวจสอบความหนาของถังสารเคมี
ซึ่งหุ่นยนต์ทั้งหมดก็มีตั้งแต่ทำงานแบบอัตโนมัติ ไปจนถึงทำงานโดยมีคนควบคุมอยู่เบื้องหลัง
5.หุ่นยนต์ขึ้นรูปพลาสติก
หุ่นยนต์ขึ้นรูปพลาสติกมีหน้าที่ในการหยิบจับ ฉีดขึ้นรูปพลาสติกตามการใช้งาน ให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น ท่อพลาสติก ชิ้นส่วนอุปกรณ์ ไปจนถึงภาชนะ จาน ชาม ช้อน ส้อม
นอกจากจะสามารถทำงานทุกอย่างได้แบบอัตโนมัติตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการแล้ว การใช้หุ่นยนต์เพื่อขึ้นรูปพลาสติกยังมีความแม่นยำและสามารถทำงานละเอียดอ่อนได้เหนือกว่ามนุษย์ปกติ ซึ่งการติดตั้งหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมนี้จะใช้พื้นที่น้อย และอยู่กับที่ เน้นด้านการใช้สายพานหรือแขนจับเพื่อส่งวัสดุเข้า-ออก มากกว่า
ลิ้งค์ https://www.youtube.com/watch?v=mTDzZvy0KYU
หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วน รถยนต์
หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานในการผลิตรถยนต์
แม้อุตสาหกรรมรถยนต์จะมีความเป็นอัตโนมัติสูง
แต่ก็ยังมีโอกาสในการเติบโตได้อีกมาก
และหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานกำลังทำหน้าที่ขับเคลื่อนประสิทธิภาพรูปแบบใหม่ภายในอุตสาหกรรมด้วยการใช้งานต่างๆ
เช่น การป้อนงานให้เครื่องจักร การตรวจสอบ และการประกอบชิ้นส่วนในระบบขับเคลื่อน
อิเล็กทรอนิกส์ และการตกแต่งภายใน
สำหรับ OEM
ระดับ Tier 1 ไปจนถึงผู้รับเหมาตลอดห่วงโซ่อุปทาน
โคบอทที่มีความยืดหยุ่นและคุ้มค่าได้ช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตและความสม่ำเสมอให้กับส่วนประกอบย่อย
เกณฑ์การวัด และระบบการทำงาน โคบอทที่ปรับใช้และติดตั้งใหม่ได้ง่ายสามารถตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมในการผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
โคบอทสามารถทำงานเคียงข้างมนุษย์ ช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตและความสม่ำเสมอ ทั้งยังช่วยให้พนักงานทำงานในกระบวนการต่างๆ ในสายการผลิตได้มากขึ้นในพื้นที่การทำงานเดียวกัน ในขณะที่ระบบอัตโนมัติแบบดั้งเดิมนั้นทำให้คุณต้องเลือกระหว่างใช้ระบบอัตโนมัติทั้งหมดหรือไม่ใช้เลย โคบอทกลับช่วยให้ผู้ผลิตเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตโนมัติได้ในบางหน้าที่และยังคืนทุนได้เร็วอีกด้วย
หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด
คณะวิศวกรรมศาสตร์
มจพ. เปิดตัว “หุ่นยนต์เก็บกู้-ทำลายล้างระเบิดแสวงเครื่อง” ที่คิดค้น
พัฒนาและจัดสร้างด้วยฝีมืออาจารย์-นักศึกษาของคณะ ฝีมือคนไทย 100 เปอร์เซ็นต์ โดยมีทีมเก็บกู้วัตถุระเบิด
หรืออีโอดี สพ.ทบ.มาร่วมโชว์สาธิตการใช้งาน
ยืนยันประสิทธิภาพดีเยี่ยมกว่าของต่างประเทศ แต่สนนราคาถูกกว่า 10 เท่า ต้นทุนเฉลี่ยเพียงตัวละ 2.5 ล้านบาท ส่งมอบ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า นำไปใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้รวม 4 ตัว สายวันที่
30 ม.ค.
ที่ห้องประชุมวิจิตรวาที ชั้น 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) รศ.ดร.อุดมเกียรติ นนทแก้ว
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ. พร้อมด้วย ผศ.มานพ คงคานิธิ
หัวหน้าโครงการพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้-ทำลายล้างวัตถุระเบิด และ พ.ท.ยุทธศิลป์
มาสมบูรณ์ รอง ผบ.ทลร.สพ.ทบ. ร่วมกันแถลงข่าวและสาธิตการใช้
“หุ่นยนต์เก็บกู้-ทำลายล้างวัตถุระเบิด รุ่นไดนาที” ที่คิดค้นและพัฒนาโดยกลุ่มอาจารย์และนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ. จนประสบผลสำเร็จ
สามารถใช้งานได้จริงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รศ.ดร.อุดมเกียรติกล่าวว่า
โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือของ มจพ. กฟผ. สกอ. และ สพ.ทบ.
ในการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการยิงทำลายวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง โดยระบบ
“วอเตอร์แคนนอน” หรือปืนยิงน้ำแรงดันสูง ที่ผ่านมา
เราต้องจัดหาจัดซื้อจากต่างประเทศ
โดยหุ่นยนต์จากต่างประเทศมีราคาต่อชุดนับสิบล้านบาท ในขณะที่หุ่นยนต์ดังกล่าว ทาง
มจพ.ได้คิดค้นและพัฒนาจนมีขีดความสามารถในการใช้งานได้เทียบเท่าหรืออาจจะดีกว่าของนอก
แต่ราคาถูกกว่ากันเกือบสิบเท่า คือต้นทุนผลิตเองจะอยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านบาทเท่านั้น ด้าน ผศ.มานพ หน.โครงการกล่าวว่า
ทาง มจพ.ได้พัฒนาระบบ ปืนยิงน้ำแรงดันสูง
โดยออกแบบใหม่เป็นปืนยิงน้ำแรงดันสูงชนิดไร้แรงสะท้อน มีการจดสิทธิบัตรเรียบร้อย
ทำให้การใช้งานมีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากกว่าของนอก
ด้าน
พ.ท.ยุทธศิลป์กล่าวระหว่างการสาธิตการใช้งานว่า หุ่นยนต์ที่ มจพ.สร้างขึ้นรวม 4
ตัว ทาง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้นำไปใช้งานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาระยะหนึ่งแล้ว
สามารถใช้งานได้จริง และเหมาะกับสภาพภูมิประเทศ มีประสิทธิภาพดีเยี่ยม
ช่วยลดอันตรายให้กับชุดอีโอดีในพื้นที่ได้เป็นอย่างมาก
หุ่นยนต์อัจฉริยะ
อาซิโม
หุ่นยนต์สุดล้ำแห่งโลกเทคโนโลยี
อาซิโม (หุ่นยนต์สุดล้ำ) อาซิโม (ASIMO) หรือชื่อย่อจาก ‘Advanced Step in
Innovative Mobility’ เป็นนวัตกรรมหุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ที่ล้ำยุคที่สุดในโลกขนาดความสูง130 เซนติเมตร น้ำหนัก 54 กิโลกรัม ซึ่งคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดย บริษัท
ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด
ผู้ผลิตยานยนต์และเครื่องยนต์รายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกทั้งนี้อาซิโมคือสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความทุ่มเทของฮอนด้าในการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเคลื่อนที่ระดับโลก กำเนิดอาซิโม อาซิโม ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543 โดยเป็นความสำเร็จจากโครงการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์หุ่นยนต์คล้ายมนุษย์ที่ฮอนด้าได้ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2529 จากความฝันของทีมวิศวกรฮอนด้า นำโดยนายมาซาโตะ ฮิโรเสะ หัวหน้าวิศวกรอาวุโส บริษัท ฮอนด้า อาร์แอนด์ดี จำกัด ศูนย์วิจัยวาโกะ ที่ต้องการเห็นหุ่นยนต์เป็นเพื่อนร่วมงาน และเป็นเพื่อนกับมนุษย์ในอนาคต ซึ่งได้พัฒนาสู่แนวคิด “การผสมผสานการทำงานที่หลากหลายของเครื่องยนต์กลไกที่จะช่วยเติมเต็มความสมบูรณ์ของชีวิตมนุษย์” อันเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาหุ่นยนต์ของฮอนด้า ทีมวิศวกรได้เฝ้าสังเกตการเดิน การเคลื่อนไหวของสัตว์และมนุษย์ อย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาคิดค้นรูปแบบการเดินของหุ่นยนต์และนำไปสู่การพัฒนาหุ่นยนต์ทดลอง 7 รุ่น และหุ่นยนต์ต้นแบบอีก 3 รุ่น ตลอดระยะเวลา 14 ปีที่ได้ริเริ่มโครงการ จนได้ให้กำเนิดอาซิโมขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของวิวัฒนาการแห่งหุ่นยนต์อย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2543 ดังกล่าว ลิ้งค์ https://www.youtube.com/watch?v=QdQL11uWWcI
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น